Introduction
บทความนี้จะมาสอนทุกท่านเรื่องการสร้างกราฟ Pie Chart ให้ดูดีแบบมืออาชีพกัน บทความนี้หลัก ๆ ก็จะสอนเกี่ยวกับการตกแต่งกราฟ Pie, การโชว์ตัวหนังสือเพื่อแสดงให้เห็นว่าชิ้นพายแต่ละชิ้นนั้นเป็นอะไร และจะสอนเกี่ยวกับการโชว์ % บนกราฟ Pie โดยส่วนใหญ่เวลาที่เราจะสร้างกราฟ Pie นั้นเราควรที่จะโชว์ข้อมูลให้เป็น % เพื่อที่จะให้สามารถดูข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น
Analytics
ในการวิเคราะห์ผู้เขียนขอยกตัวอย่างข้อมูลจากข้อมูล ‘สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2564 (มกราคม-กันยายน)’ ทุกท่านสามารถเข้าไปดาวโหลดได้ที่ https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=632
จากรูปด้านล่างนี้ผู้เขียน อยากจะแสดงการวิเคราะห์กราฟแบบ Pie Chart จากรูปด้านล่าง (รูปซ้ายมือ) จะเห็นว่าการที่เราโชว์ข้อมูลที่เยอะ ๆ แบบนี้มันจะทำให้วิเคราะห์ยากจนเกินไป บางคนก็จะบอกว่าการทำกราฟ Pie นั้นไม่ควรโชว์ข้อมูลเยอะกว่า 10 รายการ ผู้เขียนจึงเลือกที่จะทำการ Group ข้อมูลประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยที่ไม่ได้อยู่ใน 5 อันดับแรก โดยตั้งชื่อ Group ว่า Other ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ (รูปขวามือ)
หลังจากที่เราได้ชิ้นพายโดยแบ่งเป็น 6 ชิ้น (รูปด้านบน ขวามือ) แล้วถ้าเราสร้างกราฟ Pie แบบธรรมดา คือโชว์ข้อมูลบอกแค่ว่าแต่ละชิ้นพายนั้นเป็นประเทศอะไร? ถ้ามองด้วยตาเปล่า เราก็พอจะเดาออกว่า ประเทศจีนมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเยอะที่สุด แต่อาจจะลำบากในการหาว่าประเทศไหนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับ 2 และ 3 เพราะมีจำนวนนักท่องเที่ยวค่าใกล้เคียงกันระหว่าง มาเลเซีย หรือ รัสเซีย เพราะถ้ามองด้วยตาเปล่าขนาดของชิ้นพายค่อนข้างที่จะเท่ากันเลยทีเดียว แต่ถ้าเราจะเปลี่ยนการโชว์ชื่อประเทศอย่างเดียวเป็นการโชว์ ชื่อประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวก็สามารถทำได้ แต่ก็ยังไม่ถือว่าดีที่สุด
หากเราสร้างกราฟเหมือนรูปบนซ้ายมือ จริงๆก็ไม่ผิดนะคะ แต่ว่าเวลาที่เราไปนำเสนอบางครั้งเราอาจจะได้รับคำถามกลับมาว่าอยากรู้จังว่า ประเทศจีนมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเป็นกี่ % ของประเทศทั้งหมด ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าการที่เราสร้างกราฟในรูปแบบของ Pie นั้นมุมมองในการแสดงผลควรแสดงเป็น % จะดีกว่าเพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนถัดมาเรามาลงมือทำกราฟ Pie ด้วยขั้นตอนง่ายๆกันค่ะ
หลังจากที่โหลดข้อมูลมาแล้วผู้เขียนก็ได้จัดการข้อมูล โดยข้อมูลที่เราจะเอามาใช้วิเคราะห์กันนั้นก็มีอยู่ด้วยกัน 3 Fields คือ 1.ชื่อประเทศ 2.ปีที่เข้ามาเที่ยว 3.จำนวนนักท่องเที่ยว เมื่อจัดการข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะได้ดังรูปด้านล่างนี้ จากนั้นเราก็สามารถสร้าง Pie Chart ด้วย Tableau Desktop ได้แล้วไปดูขั้นตอนการสร้างกัน
วิธีการสร้างPie Chart
- เริ่มจากแบ่ง Group โดยการแบ่งให้ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยที่ไม่ได้อยู่ใน 5 ดันดับแรกทั้งหมดเป็น Group ที่ชื่อว่า ‘Other’
- ลาก Field “Nationality (Group)” ไปใส่ที่ Color ใน Mark Shelf เพื่อแยกสีของประเทศ
- ลาก Field “Sum(จำนวนนักท่องเที่ยว)” ไปใส่ที่ Size ใน Mark Shelf เพื่อดูความกว้างของ Pie
- จากนั้นเปลี่ยน Mark Type จาก ‘Automatic’ เป็น ‘Pie’
- หากต้องการโชว์ชื่อประเทศให้ลาก Field “Nationality” และ Field “Sum(จำนวนนักท่องเที่ยว) ไปใส่ที่ Label ใน Mark Shelf
ขั้นตอนถัดไปจะเป็นขั้นตอนการใส่ % ให้กับกราฟ Pie ของเรา ในTableau การใส่ % ให้กับกราฟ Pie ไม่ใช่แค่กดให้ % ขึ้นมาโชว์ในกราฟได้เลย แต่ว่าเราจะต้องใช้ Function ‘Quick Table Calculation’ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณที่มีมาในโปรแกรม Tableau เลยซึ่งการใช้งานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร สามารถทำได้ดังนี้
- ให้คลิกที่ Field ‘Sum(จำนวนนักท่องเที่ยว)’ ที่ลากไปใส่ที่ Label อยู่ใน Mark Shelf จากนั้น เลือก ‘Quick Table Calculation’ จากนั้นเลือก ‘Percent of Total’ ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
- จะแสดงผลดังรูปด้านล่างนี้
ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนสำหรับตกแต่งกราฟ Pie ให้ดูมีอะไรขึ้น มีวิธีการทำดังนี้
- ให้คลิกที่ Color ที่อยู่ใน Mark Shelf จากนั้นเลือก Border ให้กำหนดสีเส้นขอบตามที่ต้องการจากรูปตัวอย่างผู้เขียนเลือก ‘สีขาว’ จะได้ดังรูปด้านล่างนี้
- เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ ขั้นตอนการสร้าง และการตกแต่งกราฟ Pie เมื่อสร้างกราฟ Pie ก็ไปตกแต่ง Dashboard ของเราให้สวยงาม
จากข้อมูล ‘สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2564 (มกราคม-กันยายน)’ เมื่อนำมาสร้าง Pie Chart จะสามารถวิเคราห์และเห็นภาพได้ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด 5 อันดับในปี 2021 ช่วงเดือน มกราคม-กันยายน ที่ 1 คือ นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศจีน คิดเป็น 19.03% ของทั้งหมด ที่ 2 คือ นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศมาเลเซีย คิดเป็น 9.43% ของทั้งหมด ที่ 3 คือ นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศรัสเซีย คิดเป็น 8.95% ของทั้งหมด ที่ 4 คือนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศลาว คิดเป็น 5.79% ของทั้งหมด และที่ 5 คือ นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศญี่ปุ่น คิดเป็น 4.91% ของทั้งหมด และ 5 ประเทศรวมกันแล้วมีสัดส่วนเกือบ 50% เลยทีเดียว
ท่านสามารถ Download Dashboard นี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้บน Tableau Public ทาง AiTeam ได้ Share Dashboards นี้ให้กับทุกท่านที่สนใจ โดย Click ด้านล่างนี้ https://public.tableau.com/views/PieChart_16384325416670/PieChart?:language=en-US&publish=yes&:display_count=n&:origin=viz_share_link