5 อันดับ Visualizations ที่ทรงอิทธิพลสูงสุด

5 อันดับ Visualizations ที่ทรงอิทธิพลสูงสุด

(The 5 Most Influential Data Visualizations of All Time[1])

บทความนี้ผู้เขียนตั้งใจที่จะนำเสนอ Visualizations ที่ทรงอิทธิพลในระดับโลก 5 อันดับแรก นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ให้นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyze) ในประเทศไทยได้เห็น ได้รับรู้ และหวังว่าจะสามารถสร้างแรงบัลดาลใจให้เฉกเช่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลกที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำ Data Visualization

Data Visualization ทำให้เราเห็นและเข้าใจข้อมูลที่ลึกและรอบด้านมากขึ้น เกิดคำถาม-คำตอบ (Question Answering) ได้ด้วยตนเอง และทำให้เราเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ่ง (Insight) ได้ในที่สุด และ 5 อันดับของ Visualizations ที่ทรงอิทธิพลสูงสุดมีดังนี้

อันดับ 5. London Cholera Map (แผนที่การระบาดของอหิวาตกโรค ในกรุงลอนดอน)

ผู้สร้าง: Dr. John Snow (15 March 1813 – 16 June 1858) ท่านเป็นนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ

ปีที่สร้าง: ค.ศ. 1854 (165 ปีมาแล้ว)

John Snow.png
Dr. John Snow

ระหว่างปีค.ศ. 1846 – 1860 เกิดการระบาดของอหิวาตกโรค ไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศอังกฤษ ซึ่งพบว่ามีการระบาดของอหิวาตกโรคอย่างหนักในปี ค.ศ. 1854 โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างมากในแถบถนน Broad Street[2] เขต Soho กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500 คนภายใน 10 วัน ในตอนนั้นมีการถกเถียงถึงการแพร่ระบาดของอหิวาตกโลก 2 สมมุติฐานคือ

1) Miasma theory โดยคิดว่า เชื้อแพร่ทางอากาศ หรือ และ

2) Germ theory ซึ่งในกรณีนี้คิดว่าเชื้อแพร่ทางน้ำ (ซึ่งขณะนั้นยังเป็นสิ่งใหม่ ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง) John Snow เชื่อในสมมุติฐานนี้ จึงได้ทำการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ John Snow ได้สร้าง Visualization ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากดังรูปที่ 1 การค้นพบนี้ทำให้ทราบว่าเชื่อโรคได้แพร่ระบาดทางน้ำอุปโภค บริโภค การค้นพบของ John Snow ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรากฐานของระบบน้ำและการบำบัดน้ำเสียของกรุงลอนดอน และมีอิทธิพลต่อวงการแพทย์และสาธารณะสุข ทั่วโลกในเวลาต่อมา

London Cholera Map.png
รูปที่ 1 แสดง Clusters ของผู้ติดเชื้ออหิวาตกโรค

John Snow ได้สร้าง Visualization ขึ้นมาโดยสร้างเป็น Stack Bar Chart (กราฟแท่งซ้อนกัน) แทนจำนวนผู้เสีย และพื้นหลังเป็นแผนที่ (Map) จริง ถ้าสังเกตจะพบว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ที่บ้านอยู่ใกล้ ๆ ปั๊มน้ำ (จุดวงกลมสีดำในรูป)

London Cholera Map 2.png

หมายเหตุ ในปัจจุบันเราสามารถทำ Visualization ลักษณะนี้ได้ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น Tableau, Qlikview หรือ Power BI ได้ไม่ยากเย็นเท่าไร

 

อันดับ 4. Gapminder-Rosling

ผู้สร้าง: Dr. Hans Rosling (27 July 1948 – 7 February 2017) ท่านเป็นชาวสวีเดน

ปีที่สร้าง: ประมาณช่วงต้นของทศวรรษ 2000

Hans Rosling.png
Dr. Hans Rosling

Hans Rosling เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และเป็นประธานของ Gapminder Foundation[3] ซึ่งพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Trendalyzer ซึ่ง Hans Rosling ได้ใช้ซอฟต์แวร์นี้ประกอบการบรรยาย ณ ที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

Han Rosling ได้สร้าง Visualization ที่อธิบายข้อมูลเกี่ยยวกับ การพัฒนาของโลก (Developing World) ถือเป็น Visualization ที่ทันสมัยที่สุดใน 5 อันดับ

Visualization นี้เป็น Chart ในรูปแบบของ Scatter Plot ซึ่งแสดงวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของประเทศทั่วโลก ที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละปี เนื่องจาก Chart นี้ทำบนเครื่องมือสมัยใหม่ ดังนั้นจึงสามารถรัน Animation ได้

Gapminder Rosling
รูปที่ 2 รูป Gapminder-Rosling แสดงเปรียบเทียบ อายุเฉลี่ยกับรายได้ ของประเทศต่าง ๆ ในโลก

ท่านสามารถเข้าไปดู และทดลองเล่น Animation ของ Visualization นี้ได้ใน https://www.gapminder.org/tools/#$state$time$value=2018;;&chart-type=bubbles

อันดับ 3. Charles Minard’s March on Moscow, 1869

ผู้สร้าง: Charles Minard[4] (27 March 1781 – 24 October 1870) ท่านเป็นชาวฝรั่งเศส

ปีที่สร้าง: ค.ศ. 1869 (150 ปีที่แล้ว)

Charles Minard 2.png

ในปีค.ศ. 1812-1813 จักรพรรดิ์นโปเลียนแห่งฝั่งเศสได้เดินทัพบุกกรุงมอสโก สหภาพโซเวียต การเดินทัพครั้งนี้ของนโปเลียนพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ มีทหารรอดชีวิตเพียง 2% เท่านั้น ถ้าหากเราจะทำกราฟแสดงผล ก็อาจจะทำ Pie Graph ตามรูปซ้ายมือขึ้นมาแสดง

5 ปีต่อมา คือปีค.ศ. 1869 Mr. Charles Minard ได้สร้าง Visualization ขึ้นมาเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของสงครามครั้งนั้น แสดงให้เห็นความโหดร้ายของสงคราม และอุณหภูมิที่หนาวเย็นอันส่งผลต่อการเดินทัพอย่างมาก รูป Visualization นี้มีชื่อเสียงอย่างมากดังรูปที่ 3

Charles Minard 3.png
รูปที่ 3 The map of Napoleon’s Russian campaign

Visualization นี้แบ่งภาพออกเป็น 2 ส่วน (ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการทำ Dashboard ในปัจจุบัน) คือ

ส่วนที่1 (ด้านบน) แสดงเส้นทางการเดินทัพ

  • พื้นหลังเป็นแผนที่ คุณจะเห็นชื่อเมือง เห็นแม่น้ำต่าง ๆ ความหนาของเส้นแทนด้วยจำนวนทหารที่รอดชีวิต
  • สีของเส้น แทนทิศทางการเดินทัพขาไปและขากลับ โดยขาไปแทนด้วยสีน้ำตาล ขากลับแทนด้วยสีดำ จะเห็นว่าขาไปมีทหาร สี่แสนกว่าคน แต่ขากลับเหลือทหารแค่หมื่นกว่าคนเท่านั้น

ส่วนที่2 (ด้านล่าง) แสดงกราพเส้น (Line Chart)

  • แสดงอุณหภูมิ ณ ตำแหน่งต่างๆ
  • มีการลากเส้นตรงเชื่อมกับแผนที่ (ส่วนที่ 1) ด้วย

Visualization นี้เป็นภาพที่น่าประทับใจ และอยู่ในความทรงจำมาก เป็นภาพที่ให้ข้อมูลผู้ดูหลายแง่ หลายประเด็นมากกว่าการทำ Pie Graph แบบง่าย ๆ อย่างเทียบไม่ได้ คนรุ่นหลังสามารถจินตนาการถึงการเดินทัพในครั้งนั้นได้ดียิ่งขึ้น

มีการนำ Visualization ลักษณะนี้ ซึ่งเรียกว่า Minard Map[5] (ตั้งชื่อตาม Charles Minard) ไปใช้อธิบายข้อมูลด้านอื่น ๆ มากมาย รูปด้านขวามือเป็นรูปแสดง การส่งออกถ่านหินของประเทศอังกฤษไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในศตวรรษที่ 19[6] ซึ่งทำให้เราเห็นภาพได้อย่างชัดเจน

Minard Map.png

Minard Map ถูกพัฒนาเรื่อยมา ในปัจจุบันเราเรียก Visualization แบบ Charles Minard’s March on Moscow ว่า Sankey diagrams[7] ซึ่งสามารถสร้างได้บนซอฟต์แวร์ Tableau

อันดับ 2. Mortality in Crimean War, Florence Nightingale

ผู้สร้าง: Florence Nightingale (12 May 1820 – 13 August 1910)

ปีที่สร้าง: ค.ศ. 1855 (164 ปีที่แล้ว)

Florence Nightingale.png

-Florence Nightingale[8] ท่านเป็นนางพยาบาลชาวอังกฤษ

-เป็นสมาชิกสมาคม English social reformer and statistician และผู้ก่อตั้ง Modern Nursing

-มีชื่อเสียงจากการเป็น ผู้จัดการและผู้ฝึกอบรมนางพยาบาลในสงคราม Ciremean ได้รับฉายาว่า ‘Lady with the Lamp’ เพราะท่านมักถือตะเกียงดูแลผู้ป่วยกลางดึกเสมอ ๆ

-เป็นสตรีคนแรกที่เป็นสมาชิก the forerunner of RSS (Statistical Society of London)

งานของ Florence Nightingale ที่วิเคราะห์ทางสถิติเกี่ยวกับสงคราม Crimean นั้นเธอต้องการจะสื่อว่า ควรลงทุนด้านสาธารณะสุขมากกว่าลงทุนในอาวุธสงคราม เพราะการเสียชีวิตโดยส่วนใหญ่ไม่ใช่การเสียชีวิตจากอาวุธ

Visualization ในรูปที่ 4 คือภาพที่ Florence Nightingale สร้างขึ้น รูปแบบของกราฟลักษณะนี้เรียกว่า iconic polar area charts (บางครั้งเรียกว่า Nightingale rose diagram) เป็น Chart ที่พัฒนาต่อยอดจาก Pie Chart ที่คิดค้นโดย William Playfair ในปีค.ศ. 1801

iconic polar area charts.png
รูปที่ 4 Diagram of the Causes of Mortality

กราฟแสดงว่า สาเหตุการเสียชีวิตของทหารใน Crimean War โดยสีที่แตกต่างกันแต่ละช่วงเวลาหมายถึง

  • แถบสีเทา (หรือสีน้ำเงิน) แสดงจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค
  • แถบสีชมพู (หรือแดง) แสดงผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ
  • แถบสีดำ แสดงผู้เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น ๆ

Florence Nightingale เป็นเพียงนางพยาบาล แต่ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสร้าง Visualization ในการแสดงข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้

อันดับ 1. Chart of biography, Joseph Priestley, 1765

ผู้สร้าง: Joseph Priestley[9] (13 March 1733 – 6 February 1804)

ปีที่สร้าง: ค.ศ. 1765 (254 ปีที่แล้ว)

Joseph Priestley.png

ท่านเป็นชาวอังกฤษ ที่มีความสามารถหลากหลายมาก เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ นักเคมี และอื่น ๆ อีกหลายแขนง

  • ได้รับเครดิต ว่าเป็นหนึ่งในคนที่ค้นพบก๊าซออกซิเจน และเป็นคนที่คิดค้น น้ำโซดา
  • ได้ทดลองทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย
  • ได้แต่งหนังสือไว้มากมาย

หนึ่งในงานที่ Joseph Priestley ได้ทำคือการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ โดยเน้นในการศึกษาประวัติศาสตร์ (The study of history) เขาได้ออกแบบ Chart ขึ้นมา 2 รูป เพื่อใช้ในการสอนของให้กับนักเรียน เป็น Chart ที่อธิบายประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 18  โดย Chart ทั้งสองได้รับความนิยม และเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก

Joseph Priestley ไม่ใช่คนแรกที่ทำ Chart of History เพื่ออธิบายประวัติศาสตร์ ก่อนหน้านั้นมีการทำ Chart ประเภทนี้มากมายดังรูปด้านล่าง ซึ่งมักจะมีลักษณะดังนี้[10]

  • เป็นตารางข้อความ
  • เวลา (Dates) ของเหตุการณ์แสดงเป็นลำดับ ในตาราง
  • ไม่ได้มีแนวคิดที่จะใช้แกนเวลา (Time) ที่ชัดเจน

Francis-Tallents.png

Joseph Priestley ได้สร้าง Chart of History ขึ้นมาใหม่ ด้วยแนวคิดใหม่ที่จะแสดงข้อมูลในลักษณะ River of Time และนำแนวคิด Time Line มาใช้

ภาพ Chart ทั้งสองรูปที่ Joseph Priestley สร้างขึ้นแสดงดังรูปที่ 5.1 และ 5.2 จะเห็นว่าเป็นรูปที่มีรายละเอียด และดูอลังการมาก ความแตกต่างของทั้ง 2 ภาพคือ ภาพแรกจะใช้ตัวหนังสือแสดงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลา (แกน X) ส่วนรูปที่ 2 ได้รับการ Aggregate ในระดับที่สูงขึ้น โดยยังคงใช้แกน X เดียวกัน เพื่อให้เราเห็นภาพรวมได้

Joseph Priestley 2.png
รูปที่ 5.1 รูปแสดงประวัติศาสตร์ โดยใช้ตัวอักษรตาม Time Line
Joseph Priestley 3.png
รูปที่ 5.2 มีการใช้เส้นตรง และเส้นโค้งมาใช้ เพื่อแสดงจักรวรรดิ์ต่าง ๆ บน Time Line เดียวกับรูปแรก

บทสรุป

เราเรียนรู้และศึกษาอดีต เพื่อทำให้อนาคตดีกว่าเดิม ในมุมมองของ Data Visualization ก็เช่นเดียวกัน ในอดีตที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ ยังมีคนที่สามารถสร้าง Visualization อันน่าประทับใจดังที่กล่าวในบทความนี้ได้ แล้วในยุคปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทางด้าน Data Visualization มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูง เราก็น่าจะสามารถสร้าง Visualization ด้วยตนเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อองค์กรได้

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านในการสร้าง Visualization ของตัวเองที่มีประโยชน์ เป็นที่น่าประทับใจได้

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผู้เขียนชื่อนายยงยุทธ ลิขิตพัฒนะกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท AiTeam (Analytics and Insights Team) ผู้เขียนมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้าน Optimization, Advanced Planning, Forecasting and Replenishment Simulation และ Business Intelligence  ผู้เขียนเป็นอาจารย์พิเศษที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริษัท AiTeam ให้บริการโซลูชันทางด้าน BI, Analytics ผ่านการอบรมและให้คำปรึกษาโดยมุ่งหวังให้ลูกค้าก้าวไปเป็นองค์กรที่เป็น Self Service BI และสามารถทำ Analytics ได้ด้วยตนเอง

ผู้เขียนได้รับประกาศนียบัตร CPIM จาก APICS และ Tableau Partner Solutions Consultant และ Tableau Desktop 9 Qualified Associate จาก Tableau Software

อ้างอิง

[1] Andy Cotgreave. “The 5 Most Influential Visualizations of All Time”. Tableau Software

[2] https://en.wikipedia.org/wiki/1854_Broad_Street_cholera_outbreak

[3] https://www.gapminder.org/

[4] https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Joseph_Minard

[5] https://bigthink.com/strange-maps/229-vital-statistics-of-a-deadly-campaign-the-minard-map

[6] https://cartographia.wordpress.com/2008/06/09/minards-map-of-british-coal-exports/

[7] https://en.wikipedia.org/wiki/Sankey_diagram

[8] https://en.wikipedia.org/wiki/Florence_Nightingale

[9] https://en.wikipedia.org/wiki/Joseph_Priestley

[10] https://pjodonnel.wordpress.com/2015/11/02/design-history-joseph-priestley/