หลังจากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการกรองข้อมูล (Filter Data )ใน Tableau มา 2 ภาคมาแล้ว บทความนี้จะมาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานของตัวเลือก(Option)สำหรับการกรองข้อมูลหากท่านใดยังไม่ได้เข้าไปเรียนรู้เกี่ยวกับการกรองข้อมูล (Filter Data )ใน Tableau ทั้ง 2 ตอน สามารถกดเข้าไปดูที่ link ด้านล่างนี้ค่ะ
- การกรองข้อมูล (Filter Data) ใน Tableau ตอนที่1
- การกรองข้อมูล (Filter Data) ใน Tableau ตอนที่2
เรามาทำความเข้าใจการใช้งานของ Filter Option หรือ การปรับแต่ง Filter กัน หลังจากที่เรา Show Filter ให้ User โต้ตอบได้บน Dashboard แล้ว เราสามารถปรับแต่ง Filter ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับ Dashboard ที่เราออกแบบหรือตั้งใจจะให้เป็นตามที่เราต้องการได้ เราไปดูกันดีกว่าว่า Option สำหรับการ Filter มีอะไรบ้าง
ในบทความนี้แบ่งเนื้อหาของ Filter Option ออกเป็น 3 หมวด ดังรูปด้านล่าง ประกอบด้วย Option 1)Standard, 2)Filter Card Modes และ 3)Customize Filter
หมายเหตุ ตัวเลือกบางตัวเลือกสามารถโชว์ได้ทุกประเภทของการกรองข้อมูล แต่บางตัวเลือกจะโชว์ Field ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่ว่า คุณเลือกโชว์ข้อมูล Measure หรือ Dimension
Option สำหรับการ Filter Data มีดังนี้
- Option Standard ประกอบด้วย
1.1 Edit Filter – คือการแก้ไข Filter โดย Default แล้วระบบจะแสดงหน้าจอเพื่อให้เลือกข้อมูลที่จะ Filter ว่าต้องการให้โชว์ข้อมูลอะไรบ้าง (หรือไม่ให้โชว์ข้อมูลอะไรบ้าง) ดูรายละเอียดได้ในบทความก่อนหน้านี้
1.2 Remove Filter – คือการยกเลิก/การลบ Filter นั้นออกไปจาก Filter Shelf
1.3 Apply to worksheets – คือการกำหนดว่า ต้องการให้ Filter นี้มีส่งผลกระทบ (Effect) กับอะไรบ้าง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบคือ
1.3.1 All Using Related Data Source – คือ การกำหนดให้ Filter นี้ส่งผลกระทบกับ Data source ที่ใช้ในการสร้าง View ที่มีการใช้ข้อมูลจาก 2 Data Source (Tableau เรียกว่าการทำ Data Bending)
1.3.2 All Using This Data Source – คือการกำหนดให้ Filter นี้ส่งผลกระทบกับทุก Worksheet ที่ใช้แหล่งข้อมูล (Data Source) นี้
1.3.3 Selected Worksheets – คือ สามารถเลือก Worksheet ที่ต้องการใช้ Filter นี้ได้
1.3.4 Only This Worksheet – คือ เฉพาะ Worksheet นี้เท่านั้น
1.4 Format Filters – คือ สามารถปรับรูปแบบ เช่น ขนาด Font, การระบายสีของ Filter ได้
1.5 Only Relevant Values – โชว์เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เรามีข้อมูล 2 Fieldsที่จะทำ Filter คือ Region (ภาค) และ State (รัฐ) (หมายเหตุ เป็นข้อมูลประเทศสหรัฐอเมริกา)
ถ้าเราต้องการให้ Filter ของ State แสดงข้อมูลเฉพาะที่ Relevant กับ Region ดังนั้นเราจึงกำหนดให้ Filter State เป็น Only Relevant Values
เมื่อเราเลือก Region = Central จะสังเกตว่า State ก็จะแสดงเฉพาะ State ที่อยู่เขต Central เท่านั้น เมื่อเราเลือก Region = East ข้อมูล State ก็เปลี่ยนไปแสดงเฉพาะ State ที่อยู่เขต East แบบอัตโนมัติ
ท่านสามารถทดลองใช้งาน Filter แบบนี้ได้บน Dashboard ประกอบบทความนี้ได้ (Link อยู่ท้ายบทความ)
1.6 Include values – คือ โชว์ข้อมูลทั้งหมดที่เลือก
1.7 Exclude values – คือ ไม่โชว์ข้อมูลทั้งหมดที่เลือก
1.8 Hide Card – คือ การ ซ่อน/ลบ หน้าต่าง Filter
- Filter Card Modes คือการเลือกรูปแบบการกรองข้อมูลของคุณได้ โดย Filter Modes จะแสดงรูปแบบในการกรองที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อมูลของเราว่าเป็นข้อมูลประเภทอะไร เช่น ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Dimension), ข้อมูลเชิงปริมาณ (Measure) และ ข้อมูลประเภทวันที่(Date) สามารถควบคุมการทำงานของ Filter Card ได้โดยการคลิกที่ สามเหลี่ยมเล็กๆดังตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1 Filter Card Modes สำหรับข้อมูล ‘Dimension’ ประกอบด้วย
2.1.1 Single Value (List): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ radio buttons ที่สามารถเลือกข้อมูลได้ครั้งละหนึ่งค่าเท่านั้น ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1.1 Single Value (Dropdown): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ drop-down list ที่สามารถเลือกข้อมูลได้ครั้งละหนึ่งค่าเท่านั้น ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1.3 Single Value (Slider): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ การเลื่อนซ้าย-ขวา สามารถเลือกข้อมูลได้ครั้งละหนึ่งค่าเท่านั้น ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้ ตัวเลือกนี้จะมีผระโยชน์มากกับข้อมูลที่เกี่ยวกับวันที่
2.1.4 Multiple Values (List): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ check boxes ที่สามารถเลือกข้อมูลได้ครั้งละหลาย ๆ ค่า ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1.5 Multiple Values (Dropdown): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ drop-down list ที่สามารถเลือกข้อมูลได้ครั้งละหลายๆค่า ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1.6 Multiple Values (Custom List): จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ text box ที่สามารถพิมพ์ ตัวอักษรแค่บางตัวก็สามารถค้นหาได้ หน้าจอการกรองข้อมูลก็จะโชว์ข้อมูลที่เราคีย์ไปสามารถลบข้อมูลที่ต้องการยกเลิก Filter ได้โดยการกดเครื่องหมาย x ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.1.7 Wildcard Match: จะแสดงข้อมูลในการกรองข้อมูลในรูปแบบ ให้พิมพ์ตัวอักษร สามารถพิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการโชว์ข้อมูลสำหรับ Filter ได้ เช่นต้องการกรองข้อมูลที่มีตัว ‘F’ อยู่ในข้อมูล คุณ สามารถพิมพ์ ‘F’ แล้วทำการกด Enter ได้เลย หรือ หากต้องการกรองข้อมูลที่มีคำขึ้นต้นด้วย F สามารถพิมพ์ * ตามหลังคำที่ต้องการ เช่น F* ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.2 Filter Card Modes สำหรับข้อมูล ‘Measure’ ประกอบด้วย
2.2.1 Range of Values/Dates: จะแสดงการกรองข้อมูลในรูปแบบ การเลื่อนข้อมูลว่าต้องการที่จะดูข้อมูลตั้งแต่เมื่อไหร่ จนถึงเมื่อไหร่ สามารถเลือกข้อมูลหรือพิมพ์ข้อมูล ค่าต่ำสุด หรือค่าสูงได้ ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
2.2.2 At Least/Starting Date: จะแสดงการกรองข้อมูลในรูปแบบ แถบเลื่อนด้านน้อยสุดด้านเดียวที่ปรับค่าได้ ส่วนค่ามากสุดคงที่ปรับค่าไม่ได้
2.2.3 At Most/Ending Date: จะแสดงการกรองข้อมูลในรูปแบบ แถบเลื่อนด้านมากสุดด้านเดียวที่ปรับค่าได้ ส่วนค่าน้อยสุดคงที่ปรับค่าไม่ได้
2.2.4 Browse periods: โชว์ข้อมูลให้เลือก แบบ 1 Day, 1Week, 1Month , 1Year และ 5 Year Option นี้จะโชว์เฉพาะ Field ที่เป็น Continuous Date เท่านั้น
- Customize filter cards
3.1 Show “All” Value – สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้เลือก All ใน Filter หรือไม่ต้องการ หากไม่ต้องการให้โชว์สามารถคลิกเลือก ‘Show All Value’ ออกได้ ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง
3.2 Show Search Button – สามารถเลือกโชว์ หรือไม่โชว์ ปุ่ม Search ได้ ถ้าหากไม่ต้องการโชว์ สามารถคลิกเลือก ‘Show Search Button’ ออกได้
3.3 Show Include/Exclude – สามารถเลือกโชว์ หรือไม่โชว์ ‘Include Value’ และ ‘Exclude Value’ ถ้าหากไม่ต้องการโชว์ สามารถคลิกเลือก ‘Show Include/Exclude’ ออกได้
3.4 Show Filter Types – สามารถเลือกโชว์ หรือไม่โชว์ ‘Filter Type’ ได้ถ้าหากไม่ต้องการโชว์ สามารถ คลิกเลือก ‘Show Control Types’ ออกได้
3.5 Show More/Fewer button – แสดงปุ่มเพิ่มเติม หรือน้อยลง บนแถบด้านบนของตัวกรองข้อมูล ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
3.6 Show All Values button – สามารถโชว์ปุ่ม Show All Value ได้ หากไม่ต้องการโชว์ สามารถคลิกที่ ‘Show All Values button’ ออกได้ จะแสดงดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
3.7 Show Apply Button – สามารถโชว์ ปุ่ม Apply ด้านล่างของการ Filter ข้อมูลได้ โดยวิธีใช้งานคือ ให้เราทำการเลือกข้อมูลที่การ Filter เมื่อเราเลือกข้อมูลที่ต้องการ Filter แล้วกราฟจะยังไม่เปลี่ยนตามข้อมูลที่ Filter กราฟจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเราทำการกดปุ่ม Apply
ท่านสามารถทดลองใช้งาน Filter แบบนี้ได้บน Dashboard ประกอบบทความนี้ได้ (Link อยู่ท้ายบทความ)
3.8 Show Readouts – สามารถเลือกได้ว่าต้องการโชว์ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุดได้ หากไม่ต้องการโชว์สามารถคลิก ‘Show Readouts’ ออกได้จะโชว์ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
3.9 Show Slider – สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้โชว์การกรองข้อมูลเป็นแบบ Silder หรือ ไม่ หากไม่ต้องการก็สามารถคลิกเลือกที่ ‘Show Slider’ ออกได้ (ข้อมูลต้องเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ(Measure))
ดังรูปตัวอย่างด้านล่างนี้
3.10 Show Null Controls – สามารถโชว์แบบ drop-down list ที่สามารถเลือกโชว์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล Null ได้หลายรูปแบบ ได้แก่
1)Values in Range, 2)Values in Range and Null Values, 3)Null Value Only , 4)Non-null Values Only และ 5)All Values
หมายเหตุ: ตัวเลือกด้านบนบางตัวเลือกอาจไม่พร้อมใช้งานสำหรับมุมมองที่เผยแพร่ไปยัง Tableau Server หรือ Tableau Online
ท่านสามารถ Download Dashboard นี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้บน Tableau Public ทาง AiTeam ได้ Share Dashboards นี้ให้กับทุกท่านที่สนใจ โดย Click ด้านล่างนี้ https://public.tableau.com/views/FilterOption/FilterOption?:language=en-US&:display_count=n&:origin=viz_share_link