Tableau Pulse/Tableau AI คืออะไร

ผู้เขียน

–Suparat Srijankard–

, ,

AI, Tableau Pulse, Tableau AI, Tableau Cloud, Tableau Server

Tableau AI คืออะไร? / What’s Tableau AI?

          Tableau AI เดิมชื่อ Tableau GPT เป็น Generative AI (GAI/GenAI) เทคโนโลยีที่ใช้ Model ประสิทธิภาพสูงให้เรียนรู้ข้อมูลจากแบบจำลองของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่จริง เพื่อให้ AI เกิดการเรียนรู้และสร้างข้อมูลใหม่ได้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาคำตอบในข้อมูลของตัวเองได้มากและเร็วขึ้น

         จากข้อมูลการสำรวจของบริษัท Gartner (บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา) พบว่าปัจจุบันนี้หลายๆองค์กรกว่า 65% เริ่มเปลี่ยนจากการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ มาเป็นการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลแทน โดยใช้ข้อมูลทำการวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ ซึ่ง Gartner คาดการณ์ว่าในปี 2028 การตัดสินใจกว่า 25% จะมาจาก Chief Data and Analytics Officer (CDAO1) จะมีคำว่า “Decision-Centric” ที่เหนือกว่าคำว่า “Data Driven” เนื่องจากคนจะมีพฤติกรรมการตัดสินใจจาก เทคโนโลยีที่ใช้โมเดลประสิทธิภาพสูง ทั้งในแง่ของ Data และ Analytics

Tableau ใช้เวลามากกว่า 20 ปี ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องเป็น Data Scient, Data Analyst ได้เห็นก็เข้าใจข้อมูลได้ง่าย และมีประสิทธิภาพที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์จะสามารถฉลาดขึ้นได้เรื่อยๆ Tableau AI จึงถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ Einstein ซึ่งเป็น AI ของ Salesforce ทำให้มั่นใจได้ถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน

         ข้อดีที่สำคัญของ Tableau AI คือ ความสามารถในการปรับปรุงทุกส่วนของ Platform Tableau เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความเร็ว และขยายขอบเขตการทำงานของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับนักวิเคราะห์ข้อมูล Tableau AI จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ โดยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และคำแนะนำตรงตามความต้องการของผู้ใช้ Tableau AI จะลดความซับซ้อนขั้นตอนการทำงานของนักวิเคราะห์ที่มีอยู่ Tableau AI จะแนะนำแผนภูมิและการแสดงภาพที่เหมาะสม และสร้างคำอธิบายแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยอัตโนมัติ

Tableau Pulse คืออะไร? / What is Tableau Pulse?

         Tableau Pulse คือเครื่องมือที่แสดงผลวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบกราฟแสดงค่าตัวชี้วัด (Metrics) ให้อัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว ขับเคลื่อนด้วย Tableau AI ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามข้อมูลที่สำคัญที่สุด Tableau Pulse ช่วยให้คุณประหยัดเวลา ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของคุณ ปัจจุบันสามารถใช้งาน Tableau Pulse ได้เลย ถ้าองค์กรของคุณมี Tableau Cloud/ Tableau Online อยู่แล้ว โดยทาง Tableau แจ้งว่ายังไม่มีนโยบายเปิดใช้งานใน Tableau Server (เป็นที่น่าเสียดายสำหรับผู้ใช้งานที่เป็น Tableau Server T^T)

Tableau Pulse ทำงานอย่างไร?/ How Does Tableau Pulse Work?

โครงสร้างของ Tableau Pulse แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 Metrics Layer : Layer นี้ เราจะต้องกำหนดตัวชี้วัด (Metric) ของเราว่าให้มาจากแหล่งข้อมูลจริงๆ (Data Source) แหล่งใด โดยเลือกได้จาก 1 Data Source ต่อ 1 Metric เราสามารถจัดการค่า Measure หรือ Dimension ที่เราสนใจได้

ระดับที่ 2 Insights Platform Layer : Layer ชั้นที่สองนี้ถือเป็นจุดแสดงผลที่สำคัญของ Tableau Pulse เลยก็ว่าได้ เป็นส่วนแสดงผลจากการที่ GAI ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวชี้วัดเกิดขึ้น และแสดงผลสรุปข้อมูลที่เจาะลึก โดยจะอยู่ในรูปแบบกราฟที่ง่ายต่อการเข้าใจสำหรับผู้ใช้งานทุกระดับ (stakeholders)

ระดับที่ 3 Next-Gen Experiences Layer : Layer ชั้นที่สามจะรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัด (Metric) โดยแสดงข้อมูลเชิงลึกสื่อสารออกมาเป็นภาษาธรรมชาติ (NLP) สำหรับ Metric ที่เราทำการกดติดตาม (Following) เราสามารถตั้งเวลาในส่ง Metric ที่เราต้องการรับทราบข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล, Slack, Tableau Mobile ได้ด้วย

สำหรับ Tableau Pulse ณ Version เดือนมีนาคม 2024 ยังไม่มีส่วนที่เป็น Ad Hoc Q&A และ Progress to Goal จากรูป Pulse Feature Phasing ซึ่งผู้เขียนคาดว่าจะถูกปล่อยออกมาในเดือนเมษายน 2024 และนอกจากนี้ยังมี Feature อื่นๆที่น่าสนใจจะถูกปล่อยมาในช่วง Quarter ที่ 2 ของปี 2024 นี้

         โดยสรุปแล้ว Tableau Pulse ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและการทุ่มเทแรงงานในการวิเคราะห์ข้อมูล ช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลที่สำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของคุณ

ใครใช้ Tableau Pulse ได้บ้าง?/ Who can use Tableau Pulse?

          ผู้ใช้งาน Tableau Cloud ที่มี Site Role เป็น Creator, Site Administrator Explorer, or Explorer (can publish) จะได้สิทธิ์ในการใช้งาน Tableau Pulse โดยได้ทั้งสร้าง Metric และสามารถกด Follow Metric ที่สนใจเพิ่มได้ ส่วน Site Role แต่ต้องได้สิทธิ์เข้าถึงแหล่ง Data Sourceที่จะนำมาใช้สร้างเป็น Metrics ด้วย

         ส่วนผู้ใช้งาน Site Role Viewer ไม่สามารถสร้าง Metric ใหม่ได้ แต่สามารถกด Follow Metric ที่สนใจเพิ่มได้ แต่ต้องได้*สิทธิ์เข้าถึงแหล่ง Data Source ที่จะนำมาใช้สร้างเป็น Metrics ด้วย เช่นกัน

*สิทธิ์เข้าถึงแหล่ง Data Source ต้อง Allow ทั้งการมองเห็น และ การConnect

Tableau Pulse ต้องการข้อมูลอะไรบ้าง? / What do you need to use Tableau Pulse?

  • ต้องมี Data Source ที่ Published ไปไว้บน Tableau Cloud จะเป็น Live/Extract/Virtual Connections/Bridge data sources ได้หมด
  • กำหนดส่วนที่เป็น Metric
    • ต้องเลือก Measure ที่ต้องการเจาะลึกเป็น Metric 1 Field
    • ต้องมี Dimension ประเภท Date, Time 1 Field เช่น Order Date, Ship Date
    • ต้องมีอย่างน้อย 1 Field ไว้สำหรับเป็น Filter

วิธีการใช้งาน Tableau Pulse? / How do you use Tableau Pulse?

  1. การเปิดใช้งาน Tableau Pulse (ต้องไปเปิดใช้งานที่ Setting ก่อน ทำโดย User ที่เป็น Site Administrator ซึ่งขั้นตอนนี้ทำครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น
    • 1.1. ไปที่เมนู Setting
    • 1.2. Flag Turn on Tableau Pulse
    • 1.3. เลือก User ที่ต้องการให้เห็นเมนู Tableau Pulse
    • 1.4. แนะนำให้ Flag เลือก Enable Tableau Pulse Insight Summaries…

2. เมื่อ Login Tableau Cloud คุณจะเห็นเมนู Tableau Pulse อยู่ทางด้านซ้ายมือ
คุณจะ Click เลือกเมนู Tableau Pulse เลยก็ได้ แต่ UI ของ Tableau Pulse จะมาแทน Tableau จากการที่ลองใช้งานดู แนะนำให้ Click ขวาเลือก Open Link New Tab

3. หน้าแรกของ Tableau Pulse มีส่วน Tab Following (ที่เรากดติดตาม Metric ที่เราสนใจ)

4. ส่วน Tab Browse Metrics เพื่อไว้ดูว่ามี Metrics (ตัวชี้วัด) ใดบ้างที่พร้อมให้คุณติดตาม นอกจากนี้ยังมีแถบค้นหาที่มุมขวาบนเพื่อช่วยค้นหาสิ่งที่คุณกำลังมองหาได้

5. หากคุณต้องการสร้าง Metrics ใหม่ ให้คลิกปุ่ม “New Metric Defination” จะมีหน้าต่าง Select Data Source Pop-up ขึ้นมาให้คุณเลือก โดย Data Source ที่เหมาะจะทำ Metrics ควรเป็น Data Source ที่มีข้อมูล Update ทุกวัน

6. ส่วน Definition Tab เป็น Tab ที่ใช้กำหนดส่วนประกอบสำคัญที่ให้ Tableau Pulse สร้าง Metric ให้
6.1. ส่วน Details> Name & Description ไว้สำหรับตั้งชื่อและคำอธิบายที่เกี่ยวข้องให้กับ Metric เมื่อสร้างเสร็จผู้ใช้งานทุกท่านที่ได้สิทธิ์จะเห็นชื่อและคำอธิบายส่วนนี้เป็นส่วนแรก ดังนั้นพยายามทำให้ชัดเจนว่า Metric ของคุณกำลังแสดงข้อมูลอะไร

6.2. ส่วน Value ในการกำหนด Metric คุณต้องเลือก Measure 1 ค่า, เลือกรูปแบบการ Aggregated

จากนั้นเลือกว่าคุณต้องการให้รายการแสดงผลการ แบบผลรวมสะสมหรือไม่ (ซึ่งอาจเลือกไว้ล่วงหน้าได้ ขึ้นอยู่กับการรวมกลุ่มที่คุณเลือก)

6.3. ส่วน Definition Filter ให้คุณสามารถเพิ่มตัวกรองที่ต้องการให้ Metric แสดงค่าเฉพาะตัวกรองที่คุณเลือก (Include value) หรือจะยกเว้นตัวกรองที่เลือก (Exclude Value)

6.4. Time Dimension เลือก Field ที่เป็น วันที่/เวลาจาก Data Source ของคุณ สังเกตว่า Metric ด้านขวามือจะแสดงผลตามมุมมอง Field วันที่/เวลา ที่คุณเลือก

6.5. ในกรณีที่คุณต้องการสร้าง Measure ใหม่ที่นอกเหนือจาก Data Source ที่คุณมี สามารถกดปุ่ม “Create Advanced Definition” ระบบจะ Pop-up หน้าต่าง Advance Analytics Editor ที่มีหน้าตาคล้ายกับตอนที่เราสร้าง View ใน Tableau Desktop เลย ซึ่งเราสามารถสร้าง Calculation Field เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ได้ เมื่อเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Apply

6.6. ส่วน Option เป็นส่วนทีต้องการเพิ่มมุมมองตัวกรอง Filter เพิ่ม คุณสามารถเพิ่มได้หลายๆ Field โดยกดปุ่ม Add Filter Option

6.7. คุณสามารถกำหนด Number Format รูปแบบของ Measure ว่าให้เป็นตัวเลข สกุลเงิน (ปัจจุบันมีเพียงดอลลาร์เท่านั้น) หรือเปอร์เซ็นต์

7.Insights Tab คุณสามารถกำหนดพารามิเตอร์สำหรับข้อมูลเชิงลึกที่มีอยู่ใน Metric ที่คุณสร้างขึ้นได้
7.1. Insight Dimensions ข้อมูลเชิงลึกจะถูกสร้างขึ้นตามตัวกรองที่คุณเพิ่มสำหรับ Metric เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้งานท่านอื่นที่มากดติดตาม Metric ของคุณให้สามารถมองเห็นตัวกรองว่ามีอะไรบ้าง

7.2. Value going up is คุณสามารถกำหนดได้ว่า ต้องการให้แสดงค่า Value ใน Metric เป็นตามรูปแบบใด ปัจจุบันมีให้เลือก 3 แบบ

(ไม่สามารถ Custom สีตามความต้องการได้)

Favorable คือแบบที่ค่า Value ที่ได้จะแสดงสี ให้ความรู้สึกที่เหมาะสมตามผลของค่า Value ที่ได้ เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นก็เป็นสีเขียว

Neutral คือแบบที่ค่า Value ที่ได้จะแสดงสี ให้ความรู้สึกที่กลางๆ ผลของค่า Value ที่ได้ไม่แสดงว่าชัดเจนว่าดีหรือแย่ เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นก็เป็นสีฟ้า

Unfavorable คือแบบที่ค่า Value ที่ได้จะแสดงสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน ถึงแม้ว่าผลของค่า Value จะเป็นค่าบวกแต่ให้สีที่ตรงข้ามกับความรู้สึก เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นก็เป็นแดง ค่า Profit ที่ติดลบก็จะเป็นสีเขียว กรณีนี้ถ้าเรามีข้อมูล Value ที่มีพฤติกรรมทำนองว่าเป็นข้อมูลบวก แต่เป็นเรื่องไม่ดี เช่นค่า Value จำคนขาดงานเยอะ จำนวนลูกค้าที่เลิกซื้อ Product จากเรา เหล่านี้ควรเลือก Value going up แบบ Unfavorable

7.3. Insight Type ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะให้ Metric แสดงประเภทข้อมูลเชิงลึกประเภทใดได้บ้าง ปัจจุบันมี 6 ประเภท โดยค่า Default จะเปิดใช้งานทั้ง 6 ประเภท แต่คุณสามารถเลือกปิดทีละรายการได้

1) Risky Monopoly กรณีมีรายการใดที่ค่ามากเป็นพิเศษ (คิดเป็น 50% ขึ้นไปของรายการทั้งหมด) เป็นข้อมูลทำนองว่ามีโอกาสที่ จะเสี่ยงเป็นรายการผูกขาด จะแสดง View Contributed the majority ให้เห็นแยกตาม Dimension

2) Top Drivers แสดงรายการที่มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

3) Current Trend แสดงเส้นแนวโน้มปัจจุบันเพื่อดูอัตราการเปลี่ยนแปลง ทิศทาง และความผันผวนของค่า Metric

4) Bottom Contributors แสดงรายการที่มีค่าต่ำสุด โดยขึ้นการช่วงเวลาที่เราพิจารณาข้อมูล เพื่อใช้เปรียบเทียบเทียบด้วย เช่น Month to Date, Last Month, etc.

5) Top Detractors แสดงรายการที่มีค่าการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในทิศทางตรงข้ามกับค่า Metric ที่คุณสนใจ โดยขึ้นการช่วงเวลาที่เราพิจารณาข้อมูล เพื่อใช้เปรียบเทียบเทียบด้วย เช่น Month to Date, Last Month, etc.

6) New Trend แสดงเส้นแนวโน้มใหม่ที่แตกต่างจากเส้นแนวโน้มปัจจุบันเพื่อดูอัตราการเปลี่ยนแปลง ทิศทาง และความผันผวนของค่า Metric (ไม่จำเป็นที่ข้อมูลของคุณจะมีเส้น New Trend เสมอไป ขึ้นอยู่กับข้อมูล ณ เวลานั้น)

นอกจากนี้ยังมี Insight Type ประเภทอื่นๆที่ไม่สามารถปิดการใช้งานแบบ Manual ได้ เช่น Unusual Change ส่วนนี้เป็นส่วน Insight ที่สั่งปิดไม่ได้ เป็นค่า Default จะแสดงค่าเสมอ โดย Tableau Pulse จะพิจารณาจากข้อมูลเชิงลึกที่มีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ

เมื่อเสร็จแล้ว ให้เลือกปุ่ม “Save Definition” เพื่อเผยแพร่ Metric
ขณะนี้ Metric ของคุณพร้อมใช้งาน และให้ผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ที่มีสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องในการดู ปรับเปลี่ยน และกดติดตาม Metric ของคุณได้

ใน Metric คุณสามารถเลือกดูภาพรวมหรือรายละเอียดได้ ภาพรวมจะแสดงเมตริกที่คุณสร้างขึ้น ช่วยให้คุณดูรายละเอียดค่าตามตัวกรองมิติข้อมูลได้

8. Adjust ไว้สำหรับเพิ่มการดูมุมมองช่วงเวลาที่ต้องการเปรียบเทียบเช่น จากช่วงเดือนก่อนหน้า เปลี่ยนเป็นปีก่อนหน้า

9. Follow วิธีกดติดตาม Metric ที่เราสนใจ
ที่มุมขวาบนคุณมีตัวเลือก ตัวเลือกเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับสิทธิ์ของคุณ

  • กด+ คือติดตาม Metric เมื่อกดติดตามจะเป็นคำว่า “Following”
  • การเพิ่มผู้ติดตามหรือจัดการผู้ติดตามจะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มหรือลบผู้ติดตาม Metric ได้
  • เมนู … Edit Definition เมนูนี้จะช่วยให้คุณสามารถแก้ไข Metric ได้

10. เมื่อคุณสร้าง Metric หรือคุณกดติดตาม Metric (ใน Pulse ของคุณสามารถกดติดตามได้มากกว่า 1 Metric) คุณจะได้รับสรุปข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล สิ่งนี้ใช้ Generative AI เพื่อสื่อสารและสรุปข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญที่ Tableau Pulse ตรวจพบ จะเห็นว่า Feature บางอย่างจะไม่พร้อมใช้งาน แต่ในอนาคตรูปแบบ Feature เหล่านี้จะถูกพัฒนามากขึ้นอย่างแน่นอน

11. Preferences จากหน้าหลัก Tableau Pulse คุณเลือกปุ่ม “Preferences” คุณสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ Tableau Pulse ของคุณส่งข้อมูล Metric ที่คุณ Follow ไว้ไปทาง Slack หรือ Email ก็ได้ และกำหนดความถี่ที่คุณจะได้รับเป็น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน

จากการใช้งาน หากเลือกส่ง E-mail แบบ Daily Tableau Pulse จะส่ง E-mail มาเวลาประมาณ 11:00 น. ทุกวัน ปัจจุบันยังไม่สามารถ Adjust ช่วงเวลาอื่นๆได้

หากสนใจโดยละเอียดเพิ่มเติมนอกจากจะเข้าไปดู Demo โดยตรงของ Tableau ทาง AiTeam ก็มี Course สอนโดยละเอียดในหลักสูตร Tableau Cloud เช่นกันจ้า \\^_^//

1Chief Data Officer (CDO) & Chief Analytics Officer (CAO)

Data หรือข้อมูลในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญมากและ CDO จะรับหน้าที่ในการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Data Management, Data Quality, Data Strategy, Data Analytic และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หา Insight ที่เป็นคุณค่าช่วยผลักดันธุรกิจให้เดินหน้าต่อไป ในขณะที่ CAO ก็มีบทบาทหน้าที่คล้ายกันในการหา Insight จาก Data ซึ่งบางบริษัทก็ควบ 2 ตำแหน่งนี้เข้าด้วยกันไปเลยในชื่อว่า Chief Data Analytic Officer (CDAO) นั่นเอง

Reference
https://www.tableau.com/blog/tableau-pulse-and-tableau-ai
https://www.tableau.com/learn/tableau-ai-pulse-demo#video
https://interworks.com/blog/2024/02/28/take-your-pulse-how-does-tableau-pulse-work/
https://interworks.com/blog/2023/06/07/what-are-tableau-gpt-and-tableau-pulse/
https://www.gartner.com/en/webinar/581684/1304035
https://www.biztory.com/blog/tableau-pulse-tableau-ai-a-complete-guide
https://help.tableau.com/current/online/en-us/pulse_intro.htm?_gl=1ifpma7_gaMTMzNTUyMDkxNi4xNzAxODc3MjE3_ga_8YLN0SNXVS*MTcxMDQ4NDI1Mi4yNi4xLjE3MTA0ODUwMzQuMC4wLjA.
https://www.marketingoops.com/reports/fast-fact-reports/c-level-job-position-trend/
https://www.tableau.com/blog/release-tableau-pulse-metrics-layer-viz-navigation

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *